(BRYAN R. SMITH/AFP via Getty Images)

ภาพ: (BRYAN R. SMITH/AFP via Getty Images))

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล เรียกร้องให้ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย เคารพและปกป้องสิทธิของนักศึกษาในการชุมนุมประท้วง

24 เมษายน 2567

Amnesty International 

24 เมษายน 2567 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแล สหรัฐอเมริา เรียกร้องฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริา ให้ปกป้คุ้มครองและอำนวยสิทธิในการชุมนุมประ้วงโดยสหรือการรวมตัวเพื่อต่อต้านกาชุมนุมใด ในพื้นที่วิทยาเขตมหาวิทยาลั 

การชุมนุมประท้วงเพื่อสนับสนุนสิทธิของชาวปาเลสไตน์รอบและในเขตมหาวิทยาลัย ต้องเผชิญกับการขัดขวางและปราบปรามจากฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย แทนที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกและปกป้องสิทธิในการชุมนุมประท้วงของนักศึกษา โดยฝ่ายบริหารได้ใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อปราบปรามการชุมนุมประท้วง รวมถึงการประสานไปยังหน่วยงานท้องถิ่นเรียกร้องให้มีการจับกุม พร้อมทั้งตัดสินพักการเรียนนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการชุมนุมประท้วงอย่างสงบดังกล่าว  

สถานศึกษามีหน้าที่สำคัญที่จะช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจและตระหนักถึงสิทธิมนุษยชนของตนเอง การปิดปากคุกคามข่มขู่หรือการกระทำอื่นต่อผู้ที่ออกมาชุมนุมประท้วงและลุกขึ้นพูดคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนของพวกเขาพอล โอเบรียน ผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล สหรัฐอเมริกากล่าวการเป็นนักศึกษาไม่ได้หมายความว่าสิทธิมนุษยชนที่แบ่งแยกไม่ได้อย่างสิทธิในการชุมนุมประท้วงของพวกเขาจะถูกทิ้งไว้ที่หน้าประตูมหาวิทยาลัย”  

เสรีภาพทางวิชาการคือส่วนประกอบสำคัญของสิทธิด้านการศึกษา ซึ่งได้รับการรับรองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ จากการรายงานของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ระบุว่าฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย มีความรับผิดชอบต่อการส่งเสริมบรรยากาศที่ก่อให้เกิดมุมมองอันหลากหลาย กิจกรรมที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยนั้นคือส่วนประกอบสำคัญของเสรีภาพและการแลกเปลี่ยนมุมมอง โรงเรียนและมหาวิทยาลัยต้องรับรองการปกป้องสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ  

ความเสี่ยงที่ชัดเจนที่อาจเกิดขึ้นกับนักศึกษาคือความรุนแรงโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ การบังคับใช้กฎหมายเพื่อสลายการชุมนุมในมหาวิทยาลัยควรเป็นทางเลือกสุดท้ายของฝ่ายบริหารมหาวิทยาลัยเมื่อเกิดความรุนแรงอย่างกว้างขวางหรือมีการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติขึ้นท่านั้น 

“สิทธิในการชุมนุมประท้วงคือสิ่งสำคัญในการโต้แย้งเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในกาซาตอนนี้" โอเบรียนกล่าวต่อ “โดยเฉพาะความจริงทีว่ารัฐบาลสหรัฯ ยังคงส่งอาวุธให้กับกองทัพอิสราเอลอย่างต่อเนื่อง และความรุนแรงที่ซับซ้อนกำลังเกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์มากขึ้นในทุกวัน”   

การวิพากษ์วิจารณ์การกระทำหรือนโยบายของรัฐบาลอิสราเอล ไม่ถือเป็นการต่อต้านชาวยิว และไม่ใช่ข้ออ้างในการปิดปากผู้เห็นต่าง อย่างไรก็ตามีคลิปวิดีโอที่เผยแพร่ภาพของบุคคลรอ ๆ การประท้วงในมหาวิทยาลัยบางแห่ที่เผยแพร่วาทกรรมที่แสดงความเกลียดชังและเป็นอันตรารวมถึงการยกย่องความรุนแรงที่เกิดขึ้เช่การโจมตีที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ในอิสราเอล 

การต่อต้านชาวยิว (Antisemitismความเกลียดชังต่อกลุ่มมุสลิ(Islamophobiaหรือการมุ่งเป้าไปยังกลุ่มบุคคหรือชุมชนทางศาสนเชื้อชาติหรือชนชาติคือการแสดงความเกลียดชังที่ต้องได้รับการประณาเราต่างต้องทำให้ผู้ที่ยุเกี่ยวขก่อการละเมิดสิทธิและความรุนรับผิดชอบต่อการกระทำขอ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหนหรือเมื่อไหร่ก็ตา 

สิทธิที่จะอยู่โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ  คือสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญของกฎหมายสิทธิมนุษยชนและฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยต้องร่วมมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงเพื่อร่วมกันห้ามไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ หรือการใช้คำพูดที่แสดงการคุกคามกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในการชุมนุมประท้วง 

 การเลือกปฏิบัติและการส่งเสริมความรุนแรงต่อชุมชนชาวยิวถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโอเบรียนกล่าว 

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลอเมริกาขอประณามวาทกรรมที่สร้างความเกลียดชังและความรุนแรง”  

ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ การชุมนุมประท้วงคือสิ่งที่ทำให้ทุกคนทุกกลุ่มสามารถแสดงความคิดเห็นการต่อต้านและความคิดและยังได้เปิดโปงความอยุติธรรมและความรุนแรงรวมถึงทำให้เกิดการเรียกร้องความรับผิดรับชอบของผู้มีอำนาจด้วยการรวมตัวกันเพื่อเคลื่อนไหวแสดงความคิดสร้างสรรค์และแสดงการขัดขืนต่อสิ่งอยุติธรรมผู้คนที่เข้าร่วมการชุมนุมประท้วงได้กลายเป็นเสี้ยนหนามของผู้ใช้อำนาจในทางที่ผิด และการประท้วงยังเป็นช่องทางในการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนให้ก้าวหน้า เพื่อช่วยเขย่าพลวัตทางสังคมรวมถึงโครงสร้างอำนาจที่เข้มงวดและไร้ความรับผิดชอบ  

สหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนให้เกิดภัยพิบัติทางมนุษยธรรมในกาซาที่น่าสยดสยองและยังคงเกิดขึ้นอยู่ทุกวันรวมถึงยังมีชีวิตที่ต้องเสียไปมากขึ้นในทุกวันอีกด้วยไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยถ้านักศึกษาจำนวนมากจะออกมาชุมนุมประท้วง” โอเบรียนเสริมเราจะยังเรียกร้องให้ประธานาธิบดีไบเดนหยุดยิงทันทีและหยุดยิงอย่างถาวรเพื่อปกป้องพลเรือน รวมถึงรับรองว่าจะมีการอำนวยให้พลเรือนสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมไม่มีอุปสรรค และอำนวยความสะดวกในการปล่อยตัวตัวประกันอย่างปลอดภัย 

 

  

ข้อมูลพื้นฐาน 

กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ คุ้มครองสิทธิในการชุมนุมประท้วงผ่านบทบัญญัติที่แยกจากกันในสนธิสัญญาระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งเมื่อนำมารวมกันจะให้ความคุ้มครองการประท้วงที่ครอบคลุม แม้ว่าสิทธิในการชุมนุมประท้วงจะไม่ได้จัดเป็นสิทธิที่แยกออกมาในสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อประชาชนเข้าร่วมในการชุมนุมประท้วงไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มพวกเขาก็ยังใช้สิทธิต่างซึ่งอาจรวมถึงสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ