ประเทศไทย: ทางการไทยต้องยกเลิกข้อหาอันไร้เหตุผลต่อนักกิจกรรมเยาวชน

30 เมษายน 2567

Amnesty International 

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานว่าสองนักกิจกรรมเยาวชนถูกสั่งฟ้องด้วยข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทกษัตริย์และข้อหาตาม...คอมพิวเตอร์ฯ อย่างไร้เหตุผล  


บี๋ นิราภร อ่อนขาวแชมเปี้ยนด้านสิทธิดิจิทัล” ของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้เข้าร่วมการประชุมกับคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่กรุงเจนีวา และรุ้งนัยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำเยาวชนคนสำคัญในการชุมนุมประท้วงก็เป็นส่วนหนึ่งของในแคมเปญ Write for Rights เขียนเปลี่ยนโลกของแอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมาด้วยเช่นกันเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 ทั้งสองถูกสั่งฟ้องในข้อหากล่าวหาหมิ่นประมาทกษัตริย์และฝ่าฝืนพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 

ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ นักวิจัยประจำประเทศไทย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่าการสั่งฟ้องในวันนี้แสดงให้เห็นว่าทางการไทยยังคงกุข้อกล่าวหาขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อปิดปาก ปิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของเยาวชนที่ต้องการลุกขึ้นมาพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนของพวกเขา 

การตัดสินใจสั่งฟ้องนิราภร แค่หนึ่งเดือนหลังจากที่เธอเดินทางไปยังเจนีวา เพื่อเล่าประสบการณ์ในฐานะนักกิจกรรมเยาวชนและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยถือเป็นการส่งสารเพื่อสร้างความหวาดกลัวให้ผู้คนเข้าใจว่า ทางการไม่อนุญาตให้ใครก็ตามพูดเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน  

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา นิาภรได้กล่าวต่อผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติกล่าวต่อผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติ ด้านสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยอธิบายถึงข้อกังวลที่ทางการไทยได้ใช้ระบบยุติธรรมทางอาญาในทางที่ผิดเพื่อปิดกั้นสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและได้ดำเนินการสอดแนมทางดิจิทัลต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นเด็กและเยาวชนในประเทศไทย  

นิราภรได้กล่าวในกิจกรรมเสวนาคู่ขนานในวันที่ 13 มีนาคม 2567 ร่วมกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเด็กและเยาวชนจากประเทศอื่น ๆ เนื่องในโอกาสที่มีการเผยแพร่รายงานจากผู้รายงานพิเศษ ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเยาวชนประเทศไทยในการชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องการปฏิรูปการเมืองนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา  

ข้อหาต่อนิราภรและปนัยาเป็นผลสืบเนื่องมาจากการดำเนินคดีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 แต่อัยการเพิ่งตัดสินใจสั่งฟ้องในช่วงที่ผ่านมาไม่นานนี้ 

นิราภรและปนัยา เป็นส่วนหนึ่งของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ออกมาชุมนุมประท้วงโดยสงบ โดยทั้งสองเคลื่อนไหวเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกสิทธิดิจิทัลและสิทธิความเท่าเทียมทางเพศ   

ทางการได้กล่าวหาว่านักกิจกรรมเยาวชนทั้งสองคือผู้ดูแลเพจเฟซบุ๊กของแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมโดยกล่าวหาว่าโพสต์จำนวน 3 โพสต์บนเพจซึ่งถือเป็นการหมิ่นประมาทสถาบันพระมหากษัตริย์ 

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้บันทึกข้อมูลไว้ว่านักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงทั้งสองคนนี้ตกอยู่ภายใต้การสอดส่องทางดิจิทัล  

จากการสืบสวนด้วยวิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลเพื่อแกะรอยสปายแวร์โดยภาคประชาสังคม นิราภรและปนัยาอยู่ในกลุ่มของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนนักวิชาการและศิลปินรวมทั้งหมด 35 คนที่ตกเป็นเป้าหมายของสปายแวร์เพกาซัส สปายแวร์ที่มีความสามารถสูงที่พัฒนาโดย NSO Group ซึ่งเป็นบริษัทสอดส่องดูแลของอิสราเอล 

โทรศัพท์มือถือของนิราภรถูกโจมตีด้วยสปายแวร์ทั้งหมด 14 ครั้งในปี 2564 โดยพบว่าเป็นการโจมตีที่มากที่สุดเท่าที่บันทึกไว้ในขณะที่โทรศัพท์มือถือของปนัยาถูกโจมตี 4 ครั้งในปีเดียวกัน    

ช่วงต้นปี 2567 ที่ผ่านมา นิราภรได้รับคัดเลือกให้เป็นแชมเปียนด้านสิทธิดิจิทัลของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นกลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชนทั่วโลกที่มีความสนใจและความเชี่ยวชาญในด้านสิทธิดิจิทัล  

การตัดสินใจสั่งฟ้องนี้มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดสภาวะความหวาดกลัวที่ทำให้นักปกป้องสิทธิมนุษยชนและนักกิจกรรมชาวไทยเกิดความหวาดกลัวและลังเลใจว่าตนสามารถพูดถึงประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ ได้หรือไม่ชนาธิป ตติยการุณวงศ์ กล่าว 

เราขอย้ำเตือนว่าทางการไทยต้องยกระดับความพยายามเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศรวมถึงสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมประท้วงโดยสงบเราขอเรียกร้องให้ทางการไทยยุติข้อกล่าวหาต่อนักกิจกรรมเหล่านี้โดยทันที 

 

ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังลงสมัครเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติโดยสมาชิกของคณะมนตรีนั้นมีความรับผิดชอบในการส่งเสริมมาตรฐานสูงสุดในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน