แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เปิดโผผลงานที่เข้าชิง “รางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2566 (Media Awards 2023) ใน 6 ประเภท
จากการคัดสรรและตัดสินผลงานที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมด ทางคณะกรรมการตัดสินขอแจ้งรายชื่อผลงานที่ผ่านเข้าชิงรางวัลสื่อมวลชนเพื่อสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2566 ดังรายละเอียดด้านล่าง
โดยงานประกาศผลและพิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม บ้าน (Barn) ชั้น 1 โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น จตุจักร กรุงเทพ (รถไฟใต้ดิน MRT สถานีกำแพงเพชร ทางออก 1) รายละเอียดทางแอมเนสตี้ ประเทศไทยจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์
- ไม่มีผลงานผ่านเข้าชิงรางวัล
รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อออนไลน์
- ผลงานเรื่อง “สาวม้งยุคใหม่ใช้ TikTok แชร์ความทุกข์จากการทำงานหนักหลังแต่งงาน” สำนักข่าวประชาไท
- ผลงานเรื่อง “เหตุไฉน ‘สหภาพ’ ถึงยังเป็น ‘คำต้องห้าม’ ในวงการสื่อไทย?” สำนักข่าว HaRDstories
- ผลงานเรื่อง “จากเมียนมาถึงไทย: ‘แรงงานข้ามชาติ LGBTQ’ ยังคงเปราะบาง เมื่อต้นทางและโรงงานไม่ใช่ที่ปลอดภัย” สำนักข่าวประชาไท
- ผลงานเรื่อง “อาชญากรลอยนวลแบบไร้พรมแดน ในขณะที่เหยื่อค้ามนุษย์ถูกตั้งข้อหาในบ้านของตัวเอง” สำนักข่าว Coconuts Bangkok
- ผลงานเรื่อง “ ‘สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผิด’ สภาวะยกเว้นอย่างถาวรของผู้ต้องหาคดีการเมือง” The 101.world
- ผลงานเรื่อง “’กว่าจะได้เรียน’ เด็กชายแดนไทย-เมียนมา ต้องผ่านอะไรบ้าง” สำนักข่าวประชาไท
- ผลงานเรื่อง “เจนปรียา จำปีหอม ในความขื่นขมของเบอร์รี” สำนักข่าว The Isaan Recode
รางวัลข่าวหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทสื่อโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 20 นาที)
- ผลงานชุด “นิติสงคราม หยุดด้วย นิติธรรมและนิรโทษกรรม” สถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์
(ตอนที่ 1) อานนท์ นำภา ทนายความเปื้อนฝุ่น
(ตอนที่ 2) “ฟางเส้นสุดท้าย” ของวารุณี ชีวิตที่ต้องแลกอิสรภาพ
(ตอนที่ 3) น้ำตาสาวโรงงานสามีถูกขังจาก ม.112
(ตอนที่ 4) สกู๊ป หยุด นิติกรรมสงคราม ด้วย นิรโทษกรรม
- ผลงานเรื่อง “เขื่อนผันน้ำยวม กระทบชีวิตลุ่มน้ำสาละวิน” สำนักข่าววันนิวส์
(ตอนที่ 1) “เขื่อนผันน้ำยวม” กระทบชีวิตลุ่มน้ำสาละวิน ?
(ตอนที่ 2) “เขื่อนผันน้ำยวม” ความหวังหล่อเลี้ยงชีวิตลุ่มน้ำเจ้าพระยา
- ผลงานชุด “ภัยคุกคามนักเคลื่อนไหวในอาเซียน” ThaiPBSWorld
(ตอนที่ 1) ย้อนเส้นทางนักเคลื่อนไหวชาวเวียดนามหายตัวในไทย
(ตอนที่ 2) สถานการณ์ความรุนแรงนักเคลื่อนไหวในอาเซียน
(ตอนที่ 3) ปมฆ่านักเคลื่อนไหวชาวลาว สะท้อน “เสรีภาพสื่อ”
(ตอนที่ 4) พบเบาะแส นักเคลื่อนไหวชาวลาวถูกยิง
(ตอนที่ 5) ความรุนแรงต่อนักเคลื่อนไหวในอาเซียน
สารคดีหรือสารคดีเชิงข่าว ประเภทรายการโทรทัศน์ (ความยาวรวมไม่เกิน 60 นาที)
- ผลงานเรื่อง “ALONE ชานชราสุดท้าย” รายการ สามัญชนคนไทย Thai PBS
- ผลงานเรื่อง “เปิดปมข้อพิพาทที่ดินทับซ้อน ‘เมืองโบราณศรีเทพ’ ” รายการ ตัวจริงสนามข่าว สถานีโทรทัศน์ Nation TV
ข่าวหรือสารคดีเชิงข่าวที่นำเสนอในรูปแบบคลิปวิดีโอออนไลน์
- ผลงานเรื่อง “โลกสีหม่นของคนเป็นแม่” BrandThink
- ผลงานเรื่อง “เด็กเลวในสังคมแสนดี” สำนักข่าวไทยรัฐพลัส
- ผลงานเรื่อง “Digital Harassment – Silent Pain: แผลร้ายซ่อนลึกของนักกิจกรรม เมื่อถูกทำร้ายในโลกเสมือน” The 101.world
- ผลงานเรื่อง “ช้างล้น-คนตาย เสียงร่ำไห้จากป่าตะวันออก” สำนักข่าว VOICE
- ผลงานเรื่อง “Ain’t This Deserve Bail Rights?: อย่างนี้ไม่ควรได้ประกันตัว (หรือ?)” สำนักข่าวประชาไท
ภาพถ่ายในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชน”
- ผลงานของ อานันท์ ชนมหาตระกูล
หัวข้อ “แก่ จน เจ็บ ชีวิตจริงกับความหวังถึงรัฐบาลใหม่”
- ผลงานของ คชรักษ์ แก้วสุราช Thisable.me
หัวข้อ “ติดอยู่ที่อ่างแก้ว”
- ผลงานของ สมศักดิ์ เนตรทอง สถานีโทรทัศน์ PPTV HD 36
หัวข้อ “ลุงบู้’ ผู้สร้างสังคมต้านยาเสพติดชุมชนกองขยะหนองแขม”
- ผลงานของ ธเนศ แสงทองศรีกมล
หัวข้อ “โมงยามสุดท้ายของโบสถ์จีนสามย่าน เศษซากปรักหักพังบนสายธารแห่งการพัฒนา”
- ผลงานของ วันนิษา แสนอินทร์
หัวข้อ “ชุมชนมิตรภาพริมรางรถไฟ”
- ผลงานของ เมธิชัย เตียวนะ The 101.wolrd
หัวข้อ “No Man’s Land ริมแม่น้ำเมย”
- ผลงานของ พัดยศ วิเศษสิงห์
หัวข้อ “INHUMAN”
- ผลงานของ กอบบุญ บูรโชควิวัฒน์
หัวข้อ “พื้นที่การศึกษาของเด็กข้ามชาติ”
- ผลงานของ ศุภสัณห์ กันณรงค์
หัวข้อ “การเดินทางของความหวังที่ยังไม่ถึงฝันในวันนี้”
- ผลงานของ ปฏิภัทร จันทร์ทอง
หัวข้อ “จ้างวานข้า’ ไร้บ้าน ไม่ไร้งาน”